top of page
Search
โรงแรมแมว ​Cat Hoteru

แมวเป็นโรคไต ... เคยได้ยินบ่อยๆคืออะไร ?


โรคไตแมว แมวเป็นโรคไต

ไตของแมวมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของตัวเอง ช่วยควบคุมความดันโลหิตควบคุมกระแสเลือดผลิตฮอร์โมนที่สำคัญเอนไซม์และเซลล์เม็ดเลือดแดงรวมทั้งกำจัดของเสียจากกระบวนการเผาผลาญออกจากเลือด หากไตของเธอไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงและคุกคามชีวิตเช่นโรคไตในแมวของคุณ เรื่องที่น่าตกใจก็คือกว่าคุณจะทราบว่าแมวเป็นโรคไต ส่วนมากไตเสียหายไปแล้วมากกว่า 75% นั่นก็คือระยะที่ 2 ที่เรียกว่าโรคไตเรื้อรัง chronic kidney disease (CKD) ซึ่งเป็นระยะที่แมวแสดงอาการให้เจ้าของทราบได้ชัดเจนที่สุด

โรคไตแมว แมวเป็นโรคไต

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตวาย โรคนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นจากการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ, การใช้ยาบางชนิด, โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, โรคเบาหวาน และปัจจัยทางพันธุกรรม โภชนาการ ยาบางตัว หรือแมวที่มีอายุในช่วง 10-15 ปี หรือแมวอายุ 7 ปีขึ้นไป อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงหรือมีโปรตีนสูง การกลืนกินสารพิษเช่นยาฆ่าแมลงยาฆ่าแมลงยาและสารเคมีพวกน้ำยาทำความสะอาด โรคทางทันตกรรมขั้นสูง พันธุกรรมในแมวกลุ่มขนยาว เช่น Persians และ Angoras

การวินิจฉัยโรค

สัตวแพทย์จะทำการตรวจเลือดและปัสสาวะ ซึ่งในแมวที่เป็นโรคไตวายนั้นอาจจะพบว่าซีด มีระดับเกลือแร่ผิดปกติ และมีความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนั้นยังอาจตรวจพบค่าการทำงานของไตที่สูงผิดปกติอีกด้วยการตรวจเอกซเรย์หรือ ultrasound จะสามารถช่วยดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่ไตได้ โดยหากเป็นโรคไตวายมักจะพบว่าไตมีขนาดเล็กลง อาการของโรคไต เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม นอนเยอะ ท้องเสีย ท้องผูกไม่ขับถ่าย ไม่ทานอาหาร น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หิวน้ำมาก ทานน้ำบ่อยขึ้นผิดปกติ ตาบอดเฉียบพลัน ชักและหมดสติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมากขึ้น มีแผลในช่องปากและลิ้น เท้าซีดเหลือง เหงือกซีดเหลืองไม่ชมพู การเลือกอาหารแมวที่ถูกต้องสำหรับแมวโรคไต การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุของแมวโรคไตได้ดี อาหารที่ให้น้องแมวควรเป็นสูตรลดโปรตีน และ ฟอสฟอรัสลง เพราะน้องแมวที่เป็นโรคไตไม่สามารถรับประมาณอาหารที่มีโปรตีนสูงๆได้

อาหารแมวโรคไต

ภาวะของโรคไตของแมวอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ (ขอขอบพระคุณ ข้อมูลส่วนนี้ Credit จาก http://www.xn--72c6cbln4fsdm3e.com/ หรือ www.เลี้ยงแมว.com) ระยะที่ 1 ภาวะที่ไตเสียหายมากกว่า 67% ระยะนี้เราจะเรียกสัตว์ว่าเป็นโรคไต (renal insuficeincy) แต่ยังไม่ถือว่าเป็นไตเรื้อรัง สัตว์จะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆให้เห็น อาจจะแค่แสดงอาการกินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ และชอบปัสสาวะตอนกลางคืน การตรวจเช็คค่าเลือด ครีเอตินีน (Creatinine) และยูเรีย (Urea) จะไม่พบความผิดปกติ แต่หากทำการตรวจปัสสาสะจะพบว่า ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมักตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ดังนั้นหากสัตว์เลี้ยงของเรามีอายุมากกว่า 6 ปี จึงควรตรวจปัสสาวะรวมกับการตรวจสุขภาพประจำปีด้วย หากพบว่าสัตว์อยู่ในระยะนี้ เราสามารถช่วยชะลอลดความเสียหายของไตให้ช้าลงได้ ด้วยการให้อาหารที่จำกัดโปรตีนและฟอสฟอรัส ที่จำหน่ายในรูปแบบของอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์อายุมาก เช่น อาหารโรคไต อาหารโรคหัวใจ ระยะที่ 2 ภาวะที่ไตเสียหายมากกว่า 75% ระยะนี้จะเรียกว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic renal failure) สัตว์บางตัวอาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัด แต่หากตรวจเลือดวัดระดับการทำงานของไต ครีเอตินีน (Creatinine) และยูเรีย (Urea) ซึ่งบ่งบอกปริมาณของเสียที่มีอยู่ในเลือด พร้อมกับตรวจปัสสาวะจะพบถึงความผิดปกติ ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับความสามารถของไต ในการขับขับถ่ายเอาของเสียออก หากเกิดการคั่งในเลือดจนเกินระดับความทนทานของสัตว์ สัตว์จะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง อาเจียน และมีอาการถ่ายเหลวระยะที่ 3 ระยะสุดท้าย (end stage) อาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น อาเจียนบ่อยครั้ง ถ่ายเหลวสีดำคล้ำ กลิ่นปากจะคล้ายกับกลิ่นของปัสสาวะ มีแผลในช่องปาก กินอาหารไม่ได้ หมดแรง บางตัวหากเกิดการคั่งของของเสียในเลือดมากๆ จะเกิดอาการชัก ทุรนทุราย หมดเสียติ และเสียชีวิตในที่สุด

สรุปสั้นๆ คุมโภชนาการ เลือกอาหารที่ไม่เค็มมากจนเกินไป เมื่อแมวอายุสูงขึ้นหมั่นตรวจเช็คร่างกายประจำปี เพื่อดูค่าตับค่าไต กระตุ้นแมวให้ทานน้ำด้วยน้ำพุ หรือการวางจุดน้ำเพิ่มขึ้น เลี้ยงแมวระบบปิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมวมีโอกาสไปเลียสารเคมี สารปนเปื้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไตเสียหายได้ *** ปลาทูเข่งในตลาด ปลาทูแม่กลอง ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ เลิกนะคะ แมวไม่ได้ต้องการโซเดียมปริมาณเยอะเกินไปขนาดนั้น บางยี่ห้อมีปลาทูกระป๋องในน้ำแร่ (ไม่มีเกลือ) ให้ทานได้ค่ะ สำหรับแมวที่เป็นโรคไตแล้ว การรักษาระดับน้ำในร่างกายค่อนข้างสำคัญ การให้น้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายเป็นเรื่องที่เจ้าของหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อแมวไม่ทานข้าว ไม่ขับถ่ายอาจเกิดมาจากแก๊สในกระเพาะอาหาร แนะนำให้พาไปหาสัตวแพทย์ เพื่อช่วยบีบกระตุ้นอึ สวนขับถ่าย ฉีดยาลดกรดในกระเพาะอาหาร วิตามินบางตัว ตรวจเลือด เพื่อดูค่าของเสียในร่างกายและค่าตับ ค่าไต บางรายอาจจะต้อง แอทมิตให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด 2-3 วัน เมื่อน้องทรุดตัวลง ไม่ควรรอนานเกิน 2 วัน ถ้าไม่ดีขึ้นแนะนำให้พาไปหาคุณหมอให้เร็วที่สุด


12,624 views0 comments
bottom of page